ในวันฟ้าใสอากาศเย็นสบายวันหนึ่ง ในช่วงฤดูหนาวที่ผ่านมา ขณะที่ผมกำลังขับรถเพลินๆ มีโทรศัพท์จากเพื่อน ซึ่งเป็นคุณแม่ของลูกวัยประถมผู้มีความกระตือรือร้น พลางบอกให้ผมแหงนหน้าดูเมฆที่เป็นเส้นยาวๆพาดข้ามท้องฟ้า พร้อมกับคำถามจากลูกสาว เธอพอจะบอกลูกสาวได้อยู่บ้างว่ามันเกิดจากเครื่องบิน แต่คำถามต่อไปคือ แล้วทำไมเราไม่เห็นมันทุกๆครั้งไป แล้วเครื่องบินลำนั้นทำอะไรถึงได้เกิดเช่นนั้น บางลำทำไมไม่เกิด กัปตันปล่อยอะไรออกมาหรึอเปล่า สุดความสามารถของคุณแม่ จึงเป็นที่มาของการสนทนาที่เกิดขึ้นนั้น

ในกรุงเทพฯของเราพบเห็นได้ไม่บ่อยนัก นานๆเกิดครั้ง บางคนเข้าใจว่าเป็นปรากฎการทางธรรมชาติ บางคนก็พอรู้จะว่าเกิดจากเครื่องบินถึงแม้ว่าหลายๆครั้งเราแทบจะมองไม่เห็นตัวเครื่องบิน บางคนก็คิดไปถึงว่ากัปตันของเครื่องบินลำนั้นทำอะไรบางอย่าง กระนั้น ในช่วงปลายเดือนหรือกลางเดือนด้วยความสามารถพิเศษของคนไทย ก็อาจสามารถตีความหมายไปในเชิงคณิตศาสตร์ได้ด้วย

Contrails หรือที่ย่อมาจาก condensation trails อาจพบบางแห่งเรียกว่า Vapor Trails ถูกแล้วครับมันเป็นเมฆที่ถูกสร้างขึ้น จากเครื่องบินเจ็ท อธิบายง่ายๆคือ การเกิดของเมฆมีปัจจัยการเกิด และในขณะนี้เครื่องบินลำนั้นมีส่วนทำให้เกิดปัจจัยพร้อมให้เมฆเกิดขึ้นหลังจากการบินผ่าน ยิ่งอธิบายยิ่งงง สรุปมันง่ายตรงไหน

นั้นเรามาดูกันว่าปัจจัยที่กล่าวมีอะไรบ้าง การควบแน่นหรือ Condensation ที่ทำให้เกิดเป็นเมฆนั้น เกิดจากความชื้นในปริมาณที่เหมาะสมมาเจอกับอุณหภูมิที่เหมาะสม จนเกิดเป็นเมฆปุยขาวให้เราเห็นกัน

P2_9_Explanation

จากภาพประกอบพื้นที่สีฟ้าคือพื้นที่ๆความชื้นและอุณหภูมิมีความเหมาะสมให้เกิด Contrails

จากภาพประกอบพื้นที่สีฟ้าคือพื้นที่ๆความชื้นและอุณหภูมิมีความเหมาะสมให้เกิด Contrails

เรามีรูปภาพประกอบที่แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ง่ายๆระหว่างอุณหภูมิและความชื้น ฟ้าใสปิ๊งในช่วงฤดูหนาวเกิดจากอากาศที่เย็นจัดและความชื้นในอากาศที่ต่ำ นั่นทำให้ไม่มีเมฆให้เห็นเพราะขาดไปซึ่งความชื้น และเมื่อเครื่องบินๆผ่านในพื้นที่ๆกล่าวไว้ เครื่องบินได้เติมปัจจัยตัวหนึ่งเข้าไป จึงทำให้เกิดการสร้างเมฆขึ้น คือความชื้นนั่นเอง

ความชื้นมาจากไหน ไอความร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์เจ็ทมีส่วนประกอบของ Carbon dioxide, Nitrogen oxides, Carbon monoxide และความชื้น (Water Vapor) อยู่ด้วย ปริมาณความชื้นนี่เอง ในปริมาณที่เหมาะสม เมื่อมาเจอกับอากาศภายนอกที่แห้งและมีความเย็นที่เหมาะสม จึงทำให้เกิดเป็นเมฆขาวขึ้นเป็นทางยาว ตามทางที่เครื่องบินๆบินผ่าน

P2_4_ContrailPlane

P2_5_ContrailPlane

ถ้าดูกันใกล้ๆแล้วจะเห็นว่ามีจำนวนเส้นของ Contrails ตามจำนวนเครื่องยนต์ของเครื่องบิน

Contrails ที่เห็นโดยทั่วไปแบ่งได้เป็นสามแบบใหญ่ๆ แบบแรก Short-lived เส้นของเมฆเป็นทางยาวเล็กแต่ก็ไม่ได้ลากยาวมากจากตัวเครื่องบิน เนื่องจากเมฆที่ถูกสร้างขึ้นสลายตัวไปอย่างรวดเร็ว โอกาสการเกิด Contrails ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะนี้ครับ แบบที่สอง Persistent แบบนี้จะเป็นเส้นสายเล็กยาวพาดข้ามฟากฟ้าและอยู่นาน ถึงแม้เครื่องบินจะบินหายไปจนไม่เห็นตัวลำแล้ว เส้นสายของ Contrails ก็จะยังปรากฎให้เห็นอยู่ แบบที่สาม Persistent Spreading แบบนี่จะคล้ายแบบที่สองคือจะยังคงอยู่แม้เครื่องบินจะผ่านไปจนไม่เห็นตัวลำแล้ว แต่เส้นสายของแนว Contrails จะแผ่ขยายกว้างออกตามเวลาที่ผ่านไป

 

Short-lived

Short-lived

 

Persistent Spreading

Persistent Spreading

 

การจะเกิด Contrails ประเภทไหนขึ้นอยู่กับปัจจัยของสภาพแวดล้อม ในประเทศไทยจะพบเห็น Contrails เกิดกับเครื่องบินที่บินในระดับสูงๆ เนื่องจากความเย็นเหมาะสม ขณะที่ในประเทศเมืองหนาวเช่นในยุโรป การบินในระดับต่ำๆแถวสนามบินก็มีโอกาสเกิด Contrails ขึ้นได้ และภาพที่เห็นจะสวยงามและน่าตื่นเต้นทีเดียวเมื่อเครื่องบินแต่ละลำทิ้ง Footpath วาดลวดลายกันเต็มท้องฟ้า บ้างก็บินทับเป็นแนวเดียวกัน บ้างก็บินตัดกันไปมา นั่งเครื่องบินครั้งต่อไปอย่าลืมสังเกตุครับว่าเครื่องที่เรานั่งได้แต่งแต้มศิลปะไว้บนท้องฟ้าบ้างมั้ย

P2_1_multicontrail

P2_2_multicontrail

P2_3_multicontrail

 

References for Photo

P2_1 https://s-media-cache-ak0.pinimg.com/236x/ed/37/cd/ed37cd5b918698018d644c18609a2d70.jpg

P2_2 http://4.bp.blogspot.com/-WvZYtd-2pEE/UVJfxr45XDI/AAAAAAAABKk/msT3fE2X_xY/s1600/chemtrails_sunset_crosshatch.jpg

P2_3 http://www.globalresearch.ca/wp-content/uploads/2014/07/chemtrails-geoengineering1.jpg

P2_4 https://sortirduchaos.files.wordpress.com/2014/04/avion-et-chemtrail.jpg

P2_5 http://2.bp.blogspot.com/-EFJUBkQoYSo/Ug_gCX4cIsI/AAAAAAAASU4/YGKPtbov5tU/s1600/Contrail_fourengined_airplane.jpg

P2_6 http://i.kinja-img.com/gawker-media/image/upload/s–K_CJDv7x–/c_scale,fl_progressive,q_80,w_800/kerppguz74uwiydwaxku.jpg

P2_7 http://science-edu.larc.nasa.gov/contrail-edu/images/contrails/pers_sp/pers_sp2.jpg

P2_8 http://science-edu.larc.nasa.gov/contrail-edu/images/contrails/short/short4.jpg

P2_9 P2_10 http://science-edu.larc.nasa.gov/contrail-edu/science.php

About The Author

mm
พนักงานอำนวยการบินอาวุโส บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

พนักงานอำนวยการบินอาวุโส บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) - FAA Aircraft Dispatcher licensed - ICAO (DCA) Dispatcher licensed - Dispatch Instructor licensed

Related Posts